เทศบาลตำบลโนนสวรรค์

Nonsawan Subdistrict Municipality Office

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 2

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลโนนสวรรค์

 
1. ด้านกายภาพ
                   ประวัติความเป็นมา
ตำบลโนนสวรรค์แยกออกมาจากตำบลกำแพง  อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด  เมื่อปี พ.ศ.  2495 มีนายจันทร์  เป็นกำนันคนแรก  ต่อมาเมื่อตั้งกิ่งอำเภอปทุมรัตต์  จึงได้มาขึ้นกับกิ่งอำเภอปทุมรัตต์  มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง  16 หมู่บ้าน เดิมเป็นสภาตำบลซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อ ปี พ.ศ. 2540 และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลโนนสวรรค์ เมื่อวันที่ 6 กันยายน  2556 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยมี 45.64  ตารางกิโลเมตร
 
คำขวัญตำบลโนนสวรรค์  “พระครูปราการฯประสานใจ  ธารใสลำน้ำเตา อู่ข้าวหอมมะลิ  ผ้าไหมมัดหมี่ห้าดาว  กระติบข้าวจากต้นคล้า  ของป่าดงน้ำคำ  วัฒนธรรมมากมี  ประเพณีรดน้ำดำหัว”
ที่มา : ผลการประกวดคำขวัญตำบลโนนสวรรค์เมื่อวันที่  22  มกราคม  2552

1.1 ที่ตั้ง แนวเขต
ตำบลโนนสวรรค์  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอปทุมรัตต์ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 12 กิโลเมตร
  • ทิศเหนือติดต่อกับตำบลโพนสูง, ตำบลขี้เหล็ก  อำเภอปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลกำแพง  อำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ทิศใต้ติดต่อกับตำบลเมืองเตา  อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสระบัว  อำเภอปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด
                        ด้านการคมนาคมติดต่อระหว่าตำบลโนนสวรรค์กับอำเภอปทุมรัตต์และ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดมหาสารคาม  มีรายละเอียดดังนี้
หลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่บนขอบถนนด้านทิศตะวันออกถนนลูกรังระหว่างบ้านหนองม่วง  ตำบลโนนสวรรค์
กับบ้านขามป้อม ตำบลขี้เหล็กห่างจากบ้านหนองม่วงระยะทางประมาณ 0.600 กิโลเมตร บริเวณพิกัด  UC  307273 
ด้านทิศเหนือ (ติดกับตำบลโพนสูง)
หลักเขตที่  2 จากหลักเขตที่ 1 บริเวณพิกัด UC 330280 ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ระหว่างตำบลโพนสูง กับตำบลขี้เหล็ก บริเวณพิกัด UC 330280 ห่างจากหลักเขตที่ 1 ระยะทางประมาณ  2.752  กิโลเมตร
ด้านตะวันออก  (ติดกับตำบลกำแพง)
หลักเขตที่ 3 จากหลักเขตที่ 2 บริเวณพิกัด  UC 330280ไปตามคันนาทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านถนนลูกรังเส้นทางบ้านน้ำคำไปบ้านโพนสูงมาตามคันนาทุ่งนาผ่านถนนลาดยางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  202  จนถึงจุดสิ้นสุดที่บริเวณลำน้ำเตาบริเวณพิกัด UC370240 ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบักตู้ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 1.00  กิโลเมตร ห่างจากหลักเขตที่ 2 รวมระยะทางประมาณ 9.00 กิโลเมตร
ด้านทิศใต้  (ติดกับตำบลทุ่งทองตำบลเมืองเตา)
หลักเขตที่ 4 จากหลักเขตที่ 3 บริเวณพิกัด UC 370240 โดยใช้จุดกึ่งกลางของลำน้ำเตาเป็น
เส้นแบ่งเขตตรงลงมาทางทิศใต้ตามลำน้ำเตาจนถึงจุดสิ้นสุดที่บริเวณพิกัดUC 360205 ห่างจากหลัก
เขตที่ 3  รวมระยะทางประมาณ  3.500  กิโลเมตร
หลักเขตที่ 5 จากหลักเขตที่4 บริเวณพิกัดUC 360205โดยใช้จุดกึ่งกลางของลำน้ำเตาเป็น
เส้นแบ่งเขตตรงลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามลำน้ำเตาจนถึงจุดสิ้นสุดด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บ้านหัวช้าง ประมาณ 9.00 กิโลเมตร บริเวณพิกัด UC 394181 ห่างจากหลักเขตที่  4 รวมระยะทาง ประมาณ  7.00  กิโลเมตร 
ทิศตะวันตก (ติดกับตำบลโพนสูงและตำบลสระบัว)
หลักเขตที่ 6 จากหลักเขตที่ 5 บริเวณพิกัด UC 294181  โดยใช้จุดกึ่งกลางของลำน้ำเตาที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้บ้านหัวช้างประมาณ  1.00  กิโลเมตร  ตรงขึ้นมาตามคันนาทุ่งนาทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านถนนลาดยาง ทางหลวงหมายเลข 202  ถึงถนนลาดยางปากทางเข้าบ้านเขวาทุ่ง  หมู่ที่ 8 ตำบลสระบัว
อำเภอปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด  ที่บริเวณพิกัด UC 281195  อยู่บริเวณริมถนนลาดยางปากทางเข้าบ้านเขวาทุ่ง  ด้านทิศเหนือจากปากทางบ้านเขวาทุ่งประมาณ  0.405  กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทุ่งนาคันนาผ่านถนนลูกรังจากบ้านสวายโดด  ไปบ้านเขวาโคก  ตำบลสระบัว  อำเภอปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด  ไปตามทุ่งนา  ผ่านถนนลาดยางปากทางบ้านบัวขาว  ไปตามทุ่งนาผ่านฮ่องเซียม  ตรงไปทิศเหนือตามทุ่งนา  ผ่านถนนลูกรังจากบ้านส้มโฮงไปบ้านดอนดู่  ตำบลสระบัว  อำเภอปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด ตรงไปทิศเหนือตามทุ่งนาคันนาผ่านถนนลาดยางทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  2269  ช่วงระหว่างบ้านส้มโฮงกับบ้านหนองหญ้ารังกา ตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด ไปตามทุ่งนาคันนาผ่านถนนลูกรัง  ช่วงระหว่าง บ้านหนองม่วงกับบ้านหนองหญ้ารังกา ขึ้นไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงจุดเชื่อมหลักเขตที่ 1 บริเวณ พิกัด UC 307273  รวมระยะทางด้านทิศตะวันตก 9 กิโลเมตร 
                   ดังปรากฏตามแผนที่ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้  ตามเส้นแบ่งแนวเขตที่กล่าวไว้  ให้มีหลักเขตย่อยปักไว้  เพื่อแสดงแนวเขตตามสมควร

1.2  ลักษณะภูมิประเทศ  
                   สภาพพื้นที่   พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลโนนสวรรค์เป็นพื้นที่ราบ  ส่วนใหญ่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา  ไม้ผลและพืชไร่
                   ศักยภาพพื้นที่  เทศบาลตำบลโนนสวรรค์มีศักยภาพค่อนข้างจำกัดในเรื่องการปลูกพืช  เพราะดินส่วนมากจะเป็นดินทรายและดินร่วนปนทราย ปริมาณอินทรียวัตถุต่ำใช้ทำนาให้ผลผลิตต่ำการกักน้ำไม่ค่อยได้ผลบริเวณที่พบ คือ บ้านน้ำคำ  หมู่ที่ 3 , บ้านดูน  หมู่ที่ 9 ,บ้านโนนตาแสง  หมู่ที่ 10,  บ้านโนนใหม่ หมู่ที่ 13 ,บ้านโนน หมู่ที่  7 , บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 1 และบ้านหัวช้าง หมู่ที่ 6  (ที่มา:ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลโนนสวรรค์)
                   แม่น้ำสายสำคัญของเทศบาลตำบลโนนสวรรค์  คือลำน้ำเตามีต้นกำเนิดที่อำเภอนาดูนและอำเภอ
วาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  ไหลผ่านอำเภอปทุมรัตต์ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านตำบลดอกล้ำ,  ตำบลสระบัว       เข้าเขตเทศบาลตำบลโนนสวรรค์ เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอปทุมรัตต์  กับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม และเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอปทุมรัตต์ กับอำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
                   ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม   มี  3 ฤดู
  • ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมจะร้อนจัดในเดือนเมษายน
  • ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม  ฝนจะตกชุกในเดือนสิงหาคม
  • ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์จะหนาวจัดในเดือนธันวาคมและมกราคม
1.4 ลักษณะของดิน
ดินในตำบลโนนสวรรค์ ประกอบด้วยดิน 8 ชุด คือดินชุดอุบล ซึ่งมีมากที่สุด มี 30% ของตำบล  ดินชุด
น้ำพองและดินชุดโคราช มีอย่างละ 5%  ดินชุดกุลาร้องให้   ดินชุดท่าตูม ดินชุดร้อยเอ็ด และดินชุดพิมายที่มีจุดปะสีแดง  มีอย่างละ 10%  และดินคล้ายดินชุดร้อยเอ็ดที่เป็นดินร่วน มีประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบลโนนสวรรค์    ซึ่งลักษณะส่วนใหญ่ดินค่อนข้างเป็นดินทรายและร่วนปนทราย มักขาดน้ำ มีความเป็นกรดเป็นด่าง
 5.5- 6.5 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ใช้ปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่และปลูกพืชฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยว 

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ที่ ชื่อแหล่งน้ำ ที่ตั้ง (หมู่ที่) พื้นที่(ไร่) ความลึกเฉลี่ย (ม.) การใช้ประโยชน์
1. ลำน้ำเตา 1,2,6,7,9,13,14,15,16 22 กม. 2 เกษตรกรรม
2. ร่องเซียม 1, 14, 16  6  กม. 2 เกษตรกรรม
3. ห้วยอีเป 2, 3  5  กม. 1.50 เกษตรกรรม
4. อ่างหนองดูน 9  93 ไร่  3.50 อุปโภค ,บริโภค
5. อ่างหนองคลอง 3 185 ไร่ 3.50 เกษตรกรรม,อุปโภค,บริโภค
  6. อ่างหนองโสกม่วง 13 43  ไร่ 3.50 เกษตรกรรม ,อุปโภค,บริโภค
7. อ่างเลิงแก 15 45  ไร่ 3.50 อุปโภค,บริโภค
8. อ่างหนองส้มโฮง 5 40  ไร่ 3.50 อุปโภค,บริโภค
9. อ่างหนองคูณ 10 20  ไร่ 3 เกษตรกรรม
10 หนองใหญ่ 6 10  ไร่ 3 เกษตรกรรม ,อุปโภค,บริโภค
11. หนองหวาย 4 10  ไร่ 3 เกษตกรรม
12 หนองขามป้อม 12 8    ไร่      3 เกษตรกรรม
13 หนองตาปู่ 12               7   ไร่      2 เกษตรกรรม
14 หนองตู้ 2  26 ไร่       3 เกษตรกรรม ,อุปโภค,บริโภค
15 หนองใหญ่ 1,14  16 ไร่      3.50 อุโภค
16 หนองฝาย 7  28 ไร่      3 เกษตรกรรม ,อุปโภค
17 หนองบัว 8    9 ไร่      3 เกษตรกรรม ,อุปโภค
18 หนองปากทาง 8  12 ไร่      3 เกษตรกรรม ,อุปโภค
19 หนองป่ายูคาริตัส 8 20 ไร่      3 เกษตรกรรม ,อุปโภค
 20 หนองวัด 8 10 ไร่   เกษตรกรรม ,อุปโภค
21 หนองเหมียด 16 40  ไร่   เกษตรกรรม ,อุปโภค
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
                   พื้นที่อยู่อาศัย ป่าไม้ แหล่งน้ำและที่สาธารณะอื่นๆ  5,705 ไร่แบ่งตามลักษณะการใช้   ประโยชน์ดังนี้
                   - พื้นที่อยู่อาศัย 2,400  ไร่
                   - พื้นที่ป่า  2,428  ไร่
                   - พื้นที่สาธารณะ   515   ไร่

ที่่มา แผนพัฒนาท้องถิ่น 2561-2565
วันที่ : 26 มกราคม 2560   View : 2370